25489 จำนวนผู้เข้าชม |
สิ่งแรกที่เราต้องรู้จักครับ ในรายการจดทะเบียนจะมี 2 ส่วนครับ
รายการจดทะเบียนรถ จะบอกข้อมูลรถคันนั้นๆ ในรายการที่สำคัญๆในการจดทะเบียน เช่น เลขตัวรถ เลขทะเบียนรถ ลักษณะการใช้รถ เป็นต้น บริษัทประกันภัยจะใช่ข้อมูลตรงนี้เป็นข้อมูลในการรับประกัน ซึ่งรายการจดทะเบียนรถ ไม่ได้มีข้อมูลวับซ้อนอะไรครับ ทำความเข้าใจได้ไม่ยาก
ส่วนที่ 2 เจ้าของรถ จะเขียนชื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์ บางคันที่อยู่ในระหว่างผ่อน ในช่องผู้ถือกรรมสิทธิ์จะเป็นชื่อของไฟแนนท์ก่อน และเจ้าของรถมีชื่อในช่องผู้ครอบครองแทน
วันนี้มีตัวอย่างของรายการจดทะเบียน 4 ตัวอย่างครับ ที่พบบ่อยในการทำงาน
รย. 1 คือ รถนั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน (รถเก๋งหรือรถกระบะ 4 ประตู)
รย. 2 คือ รถนั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน (รถตู้)
รย. 3 คือ รถบรรทุกส่วนบุคคล (รถกระบะตอนเดียว หรือ กระบะแค๊ป)
รย. 12 คือ รถจักรยานยนต์
พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ หรือเรียกกันติดปากว่า พ.ร.บ.
ที่ต้องนำภาพนี้ขึ้นมาก่อนเพราะมีการสับสนเกิดขึ้น หลายคนแยกไม่ออกว่าอะไรคือ พรบ อะไรคือ ป้ายภาษี ซึ่งดูเหมือนแยกไม่ยากใช่ไม่ครับ แต่ก็ยังมีคนเข้าใจผิดอยู่นะ งั้น พรบ หน้าตาเป็นยังไงมาดูกัน
พรบ. หรือพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภับจากรถ ชื่อเขียนไว้ชัดเจนที่หัวกระดาษ มีความคุ้มครอง ณ ปัจจุบันเขียนไว้ ราคาเบี้ยหลักร้อย แต่คุ้มครองหลักหมื่นหลักแสน และที่หลายคนสับสนกับป้ายภาษี
ป้ายภาษีที่ได้รับ แสดงว่าคุณได้ชำระภาษีรถยนต์ประจำปีแล้ว กรมขนส่งทางบก จะออกป้ายภาษีให้เป็นหลักฐาน เราก็นำมาติดหน้ารถแสดงให้เจ้าหน้าที่ตำรวจเห็นชัดเจน เผื่อว่าโดนเรียกตรวจ การต่อภาษีต่อล่วงหน้าได้ 90 วันก่อนวันสิ้นอายุภาษีครับ หน้าตาเป็นแบบนี้